ภัคคริชญ์  ประสิทธิ์ / เรียบเรียง    
   

ตระการตาแห่เทียนพรรษาโคราช

   
   


วันเข้าพรรษา

           ใกล้เข้ามาอีกไม่กี่วันก็จะถึงงานบุญใหญ่ของชาวพุทธ ก็คือวัน วันเข้าพรรษา ซึ่งปีนี้ตรงกับวัน
เสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554  พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะมีกิจกรรมเข้าวัดทำบุญ ตักบาตร  ฟังธรรม
และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด และในโอกาสนี้บางท่านก็ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะงดเว้นอบายมุข การฆ่าสัตว์
และสิ่งมึนเมาทั้งปวงตลอดการเข้าพรรษา ก็ขออนุโมทนาให้ท่านประสบแต่สิ่งที่ตั้งใจทำ และ
พบแต่ความสุขกายใจตลอดไปครับ

D:\แห่เทียน\DSC_1125.JPGD:\แห่เทียน\DSC_8609.jpg

 

 

 

 






D:\แห่เทียน\DSC_1117.jpg

 

D:\แห่เทียน\DSC_1125.JPG

 

 










ความเป็นมาประเพณีเข้าพรรษา

         ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา เป็นอย่างไรนั้น เรามารู้จักกันสักนิดพอสังเขป วันเข้าพรรษา เป็น
วันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝน
ที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกกัน
โดยทั่วไปว่า จำพรรษา พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับของพระภิกษุโดยตรง ซึ่งจะละเว้นไม่ได้
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
หรือที่เรียกว่า วันออกพรรษา

 
        ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา
เหล่าภิกษุสงฆ์ต่างจึงพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในที่ต่างๆ ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน
และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่
นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน
อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออก
หากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน
พระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลา
ที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา"แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษา
สามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ก็คือ 
การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้  การไปเพื่อ
กิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หากทายก-ทายิกานิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธา
ในการบำเพ็ญกุศลของเขา
 
         แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล
และชำระจิตใจให้ผ่องใส ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้
ธูปเทียน เครื่องใช้ต่าง ๆ มาถวายพระภิกษุ สามเณร หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซม
กุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด
บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น 

           และมีประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้
้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด
3 เดือนและเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ประเพณีดังกล่าวได้สืบทอดกันมา
จนกระทั่งมีการริเริ่ม"ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดย จัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

ความเป็นมาของการถวายเทียนพรรษา

          ความเป็นมาของการถวายเทียนพรรษานั้น เริ่มในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งนับถือวัว เพราะถือว่า
วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย ก็จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาเทพเจ้าที่ตนเคารพ
แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยนำรังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง
แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอก แล้วใช้จุดบูชาพระ
เทียนพรรษา เริ่มมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไปถวายพระภิกษ
ุในเทศกาลเข้าพรรษา
เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจแสงสว่างของดวงเทียน
และได้ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

D:\แห่เทียน\DSC_2149.JPGC:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\ทำเทียนพรรษา\GEDC8102.JPG











                               นายช่างฝีมือดีคนท้องถิ่น แกะเทียนพรรษาเมืองโคราช

          ผมได้มีโอกาสร่วมชมงานประเพณีแห่เทียนพรรษามาที่จังหวัดนครราชสีมา หรือ โคราช มาโดย
ตลอดและได้ไปดูช่างฝีมือเมืองโคราชทำเทียนพรรษา  ซึ่งจากการได้พูดคุยกับช่างทำเทียนและคนเก่าแก
่ของเมืองโคราชจึงได้ทราบว่า ประเพณีแห่เทียนพรรษาของเมืองย่าโมโคราชนั้น ได้ปฏิบัติสืบ
ทอดต่อกันมากนานว่า 60 ปี ในสมัยก่อนใช้วัสดุทำต้นเทียนขบวนแห่แบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ใช้เกวียนบรรทุก
ชาวบ้านร่วมกันทำด้วยความศรัทธา วัตถุประสงค์เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ทำบุญโดยการนำเทียน
และน้ำมันพืชมาถวาย  เพื่อใช้จุดให้แสงสว่างยามค่ำคืนในช่วงการเข้าพรรษาของภิกษุ

           จนมาถึงปัจจุบันย้อนไปกว่า 10 ปี ได้มีการทำขบวนต้นเทียนที่เปลี่ยนไป การทำเทียนนั้นมี
ีวัตถุประสงค์เพิ่มขึ้น คือ เพื่อส่งเข้าประกวดทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด โดยการทำเทียนแต่ละปี
ก็จะใช้ช่างฝีมือในท้องถิ่นนั้น ๆ  และแรงงานที่ช่วยกันทำมีทั้ง พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้าน
หลากหลายอาชีพที่หมุนเวียนร่วมทำเทียนพรรษาด้วยแรงกายและจิตศรัทธาทั้งสิ้น  การเริ่มทำเทียน
พรรษานั้น ทำกันตั้งแต่เสร็จสิ้นงานประเพณีสงกรานต์ไปแล้ว รวมระยะเวลาทำงานกว่า 4 เดือน

C:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\ทำเทียนพรรษา\GEDC8099.JPGC:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\ทำเทียนพรรษา\GEDC8077.JPG





         
         
                   



        ถังต้มเทียนเพื่อนำไปหล่อเทียนเป็นรูป และติดพิมพ์แกะสลักลวดลายสวยงาม

          ช่างทำเทียนได้เล่าให้ผมฟังว่า ถ้าเป็นขบวนต้นเทียนประเภท ก. ที่ส่งประกวดก็คือมีความสูง
ของต้นเทียนจากฐานถึงยอด  3 เมตรขึ้นไป และมีเรื่องราวประกอบที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องทางพุทธประวัติ 
หรือ เป็นขบวนที่เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ วัสดุที่ใช้ทำและตกแต่งที่ประกอบด้วย
ขี้ผึ้ง เทียนหรือไข ก็จะมีน้ำหนักรวมแล้วกว่า 10 ตัน ระยะการทำงานกว่า 4 เดือน ถึงจะได้ขบวนเทียนท
ี่สวยงาม  ประณีต  วิจิตรบรรจง  ตระการตา

 C:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\ทำเทียนพรรษา\GEDC8086.JPGC:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\ทำเทียนพรรษา\GEDC8081.JPG

 

 

         







C:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\ทำเทียนพรรษา\GEDC8140.JPG

 










ชาวบ้านหลากหลายอาชีพที่ว่างจากการงานก็จะมาร่วมทำเทียนพรรษาด้วยแรงจิตศรัทธา


          ในระหว่างวันที่ 15 -17 กรกฎาคม 2554 นี้  ที่บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  สวนสุรนารี(สวนรักษ์)
สวนเมืองทอง และสวนอนุสรณ์สถานท้าวสุรนารี สวนสาธารณะใจกลางเมืองโคราช เทศบาลนคร
นครราชสีมาได้จัดงานประเพณีแห่เทียนอย่างยิ่งใหญ่เช่นทุกปี  โดยในปีนี้ในช่วงค่ำ มีการจัดแสดง แสง
สี เสียง ขบวนเทียนพรรษาในระบบ 3D ที่ท่านต้องตื่นตาตื่นใจอย่างมาก กิจกรรมในงานมากมายทั้งการ
ประกวดขบวนเทียนพรรษาประเภท ก. ข. และ ค. ประกวดขบวนแห่ การทำบุญหลอดไฟฟ้าถวายวัด การ
หล่อเทียนพรรษาถวายวัด  และกิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย และกิจกรรมพิเศษที่ขอเชิญชวนทุกท่าน
เข้าร่วมการ ถ่ายภาพเทียนพรรษา เพื่อส่งประกวดชิงเงินรางวัลกว่า 1 แสนบาท

D:\แห่เทียน\DSC_1356.JPGD:\แห่เทียน\DSC_1127.JPG










                                         ขบวนแห่เทียนพรรษาในช่วงกลางวัน

D:\แห่เทียน\DSC_2182.JPGD:\แห่เทียน\DSC_2092.JPG                                                                            








      การแสดง แสง สี เสียง ประกอบเทียนพรรษายามค่ำคืน ในปีนี้นำระบบ 3D มาประกอบ
           การเดินทางไปเที่ยวแห่เทียนโคราชสามารถเดินทางได้ด้วยรถส่วนตัว รถไฟหรือรถโดยสาร
ปรับอากาศประจำทางมีออกจากกรุงเทพฯ ทุก 15 นาที ถ้าท่านเดินทางด้วยรถส่วนตัว จากกรุงเทพฯ
สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน เขต อ.วังน้อย จ.อยุธยา เข้าเขต จ.สระบุรี ผ่าน อ.แก่งคอย
อ.มวกเหล็ก อ. ปากช่อง มุ่งสู่ จ.นครราชสีมา สะดวกรวดเร็วใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมง หรือจะแวะ
อิ่มแวะเที่ยวมาเรื่อย ๆ ก็ได้บรรยากาศดี ท่านสามารถเดินทางแบบเช้าไป-เย็นกลับก็ได้ หรือจะพักที่
โคราชก็มีโรงแรมที่พักเพียงพอ และในช่วงงานประเพณีีแห่เทียนปีนี้ เทศบาลนครนครราชสีมาได้จัด
โครงการเที่ยวแห่เทียนโคราชสุดคุ้ม ด้วยการลดราคาโรงแรมที่พักโดยมีกลุ่มโรงแรมหลายแห่งในโคราช
ร่วมโครงการในราคาเริ่มต้นเพียง 499 บาทพร้อมตั๋วรถทัวร์ไป-กลับ ติดต่อสอบถาม จองแพคเก็จ ได้ที่
งานประชาสัมพันธ์ เทศบาลนครนครราชสีมา หมายเลข 044-275933 ตั้งแต่บัดนี้-วันที่ 12 กรกฎาคม 2554
จึงก็ขอเชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษาโคราช ชาวโคราชยินดีต้อนรับทุกท่าน
ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีครับผม..........